Saturday, January 11, 2014

การเขียนจดหมายสมัครงาน

จดหมายสมัครงาน

(job application letter)





        สาระความรู้


             จดหมายสมัครงาน คือ การเขียนประเภทหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสมัคร งานในตำแหน่งที่บริษัทต้องการ และต้องการที่จะขอรับการสัมภาษณ์ เพื่อการบรรจุเข้า ทำงาน และเป็นการเขียนที่มีการวางรูปแบบเช่นเดียวกับการเขียนจดหมายธุรกิจทั่วไป ภาษาที่ใช้เขียนในจดหมายสมัครงานควรเป็นภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายไม่มีสำนวนที่ สวิงสวายหรือมีความหมายที่วกวน นอกจากนี้ภาษาเขียนนั้นจะต้องชัดเจนและรวบรัดได้ ใจความว่าผู้เขียนต้องการอะไร และสามารถบรรจุอยู่บนกระดาษเพียง 1 หน้าได้



ส่วนประกอบของจดหมาย โดยทั่วไปประกอบด้วย
1. กระดาษและซองจดหมาย  ใช้กระดาษขนาด 8.5 นิ้ว คูณ 11 นิ้ว และใช้หน้าเดียว หากไม่พอให้ต่อแผ่นที่สองโดยมีข้อความที่ค้างมาจากหน้าแรกอย่างน้อย 2 บรรทัด 1 ย่อหน้า 

2. ที่อยู่ผู้ส่ง  อยู่ส่วนบนของจดหมายนิยมใช้กระดาษที่มีหัวจดหมายสําเร็จรูป ซึ่งแต่ละ 
หน่วยงานสามารถกําหนดแบบ สีสันและขนาดได้ตามต้องการโดยทั่วไปนิยมใส่ชื่อที่อยู่ของบริษัทและใส่ตราบริษัท หมายเลขโทรสาร ไว้ด้วย หากกระดาษที่ใช้ไม่มีหัวจดหมายสําเร็จรูป ให้พิมพ์ชื่อบริษัทห้างร้านไว้บรรทัดแรกห่างจากขอบกระดาษด้านบนประมาณ 1.5 นิ้ว รายละเอียดของที่อยู่ประมาณ 2 - 3 บรรทัด ในกรณีที่ใช้กระดาษมากกว่าหนึ่งแผ่น กระดาษแผ่นต่อไปให้ใช้กระดาษธรรมดาไม่ต้องมีที่อยู่ผู้ส่ง 

3. เลขที่จดหมาย  ส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่หลายหน่วยงานนิยมเขียนเลขที่จดหมายและปี
พุทธศักราชที่จัดทําจดหมายเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและอ้างอิง โดยเรียงลําดับตั้งแต่เลข 1 ไปจนสิ้นปีปฏิทิน แต่บางหน่วยงานอาจมีวิธีการกําหนดเลขที่จดหมายขึ้นใช้ แตกต่างกันไป 

4. วัน เดือน ปี  นิยมใช้เลขอารบิค ลงเฉพาะตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขปีพุทธศักราชที่ออกจดหมาย เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงหรือการติดต่อโต้ตอบจดหมาย 

5. ที่อยู่ผู้รับ  หมายถึง การระบุชื่อ ตําแหน่งและที่อยู่ของผู้รับเพื่อประโยชน์สําหรับการเก็บ 
จดหมายไว้เป็นหลักฐาน แต่มีจดหมายธุรกิจจํานวนมากไม่นิยมใส่ส่วนนี้ไว้เนื่องจากไม่เห็นความจําเป็น

6. คําขึ้นต้น  เป็นการทักทายแสดงการเริ่มต้นจดหมาย นิยมใช้คําว่า “ เรียน ” และตามด้วยตําแหน่งหรือชื่อที่ถูกต้องของผู้ที่จดหมายนั้นมีถึง การเขียนคําขึ้นต้นในจดหมายธุรกิจสามารถวางไว้ก่อนหรือหลัง “ เรื่อง ” ตามรูปแบบของจดหมายที่เลือกใช้ 

7. เรื่อง  ได้แก่ สาระสําคัญสั้น ๆ ที่ครอบคลุมใจความทั้งหมดของเรื่องที่ติดต่อ บางหน่วยงานไม่มีการกําหนดชื่อเรื่อง หากมีจะกําหนดตําแหน่งไว้ก่อนขึ้นส่วนข้อความ แต่มีจดหมายธุรกิจจํานวนมาก นิยมวางเรื่องไว้ชิดเส้นกั้นหน้าก่อนคําขึ้นต้นเช่นเดียวกับหนังสือราชการ 

8. อ้างอิง  อาจมีหรือไม่ก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นการเท้าความการติดต่อกันที่มีมาก่อน ในจดหมายธุรกิจนิยมนําอ้างอิงใส่ไว้ในเนื้อความตอนต้น แต่บางฉบับอาจใส่ไว้ชิดเส้นกั้นหน้าต่อจากคําขึ้นต้น

9. เนื้อความ  หมายถึง ส่วนที่เสนอเนื้อหาหรือสาระสําคัญของจดหมายที่เขียน ปกติแล้วจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ชัดเจนเข้าใจง่าย เริ่มจากอารัมภบท สาระสําคัญ และข้อความลงเอยตอนท้าย ข้อความส่วนที่เป็นการอ้างอิงความเดิมมักอยู่ในเนื้อความด้วย 

10. คําลงท้าย  นิยมใช้คําว่า ขอแสดงความนับถือ 

11. ลายมือชื่อ  เป็นการลงลายมือชื่อของเจ้าของจดหมาย 

12. ชื่อเต็มและตําแหน่ง  เป็นการพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ ซึ่งนิยมใช้ทั้งมีและไม่มีคําประกอบชื่อ จากนั้นจะระบุตําแหน่งในบรรทัดต่อไป 

13. สิ่งที่ส่งมาด้วย  หมายถึง ส่วนที่ระบุชื่อสิ่งของหรือเอกสารที่ส่งไปพร้อมกับจดหมายฉบับนี้ หากมีมากกว่า 1 รายการ นิยมใส่เลขเรียงลําดับ โดยทั่วไปอยู่ส่วนท้ายของจดหมาย แต่งบางหน่วยงานยึดรูปแบบของหนังสือราชการ สิ่งที่ส่งมาด้วยจะอยู่ก่อนถึงเนื้อความ



            

           เทคนิคง่าย ๆ จดหมายสมัครงาน



           ในจำนวนใบสมัครงาน 100 ฉบับที่ส่งถึง HR อาจมีผู้ที่เขียนจดหมายสมัครงานเพียงไม่กี่คน หากคุณถือโอกาสนี้สร้างความโดดเด่นและแตกต่างด้วยจดหมายสมัครงานที่พิถีพิถันและตั้งใจ คุณจะสามารถโดดเด่นขึ้นมาจากคน 100 คนได้ไม่ยาก ลองมาดูเทคนิคพร้อมกัน


       ขั้นแรก : เริ่มด้วย Introduction ที่หนักแน่น
การแนะนำตัวที่หนักแน่นบ่งบอกถึงความตั้งใจและความสนใจของคุณในการสมัครงานนั้น ๆ รวมถึงการระบุว่าคุณเห็นประกาศงานนั้นจากที่ไหน เพื่อแสดงให้ HR เห็นว่าคุณใส่ใจแม้กระทั่งรายละเอียดเล็ก ๆ เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น
“I am writing to express my strong interest in applying for the posted in your .”

  ขั้นที่สอง : ส่วน Body โชว์จุดขายของคุณ
เขียนให้ HR เห็นสิ่งที่โดดเด่นในตัวคุณ ทักษะ คุณสมบัติ และประสบการณ์การทำงาน ที่คุณมีสอดคล้องกับตำแหน่งงานนี้อย่างไรบ้าง 

            ขั้นที่สาม : ลงท้ายให้ซาบซึ้ง ประทับใจ
  จบจดหมายให้น่าประทับใจ ขอบคุณ HR ที่สละเวลาอ่านจดหมายสมัครงานของคุณ และอย่าพลาดใช้โอกาสนี้บอกว่าคุณต้องการร่วมงานกับบริษัทมากเพียงใด รวมทั้งขออนุญาตโทรไปสอบถามความคืบหน้าในการพิจารณาใบสมัครของคุณ ตัวอย่างเช่น
“Thank you for reading my application for INSERT JOB TITLEI look forward to working with your team and I will contact you in two weeks to discuss the possibility of setting up an interview.”

             คำแนะนำเพิ่มเติม
  • ควรปรับแต่งจดหมายสมัครงานให้แตกต่างกันในแต่ละบริษัทที่สมัคร เพราะแต่ละแห่งย่อมระบุคุณสมบัติที่ต้องการต่างกัน ควรเขียนให้เหมาะกับแต่ละบริษัทมากที่สุด

  • ตรวจความถูกต้องก่อนส่ง ระวังอย่าให้มีคำผิด หรือสะกดผิด แม้แต่จุดเดียว เพราะความผิดพลาดเล็กน้อยเช่นนี้อาจปิดโอกาสการถูกเรียกสัมภาษณ์งานอย่างน่าเสียดายที่สุด




             ตัวอย่างการเขียนจดหมายสมัครงาน











             คำศัพท์น่ารู้ในการเขียนจดหมายสมัครงาน


Application Form    =     แบบฟอร์มใบสมัครงาน
Application Letter    =    จดหมายสมัครงาน
Applicant / Candidate    =    ผู้สมัคร (งาน)
To be completed in own handwriting.    =    เขียนใบสมัครด้วยลายมือตนเอง
Confidential    =    เป็นความลับ
Photo attached here    =    ติดรูปถ่ายตรงนี้
Position applied for / Position sought / Position desired    =    ตำแหน่งที่สมัคร / ตำแหน่งที่ต้องการ
Salary expected    =    เงินเดือนที่ต้องการ
Personal data    =    (อเมริกา) ประวัติส่วนตัว คำนี้ในประเทศอังกฤษใช้ (CV), bio-data หรือ data sheet และทั้งหมดนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า Rèsumè
Sex    =    เพศ (ชาย ใช้ Male หญิง ใช้ Female)
Present address    =    ที่อยู่ปัจจุบัน
Permanent address    =    ที่อยู่ถาวร
Date of birth    =    วันเดือนปีเกิด
Age    =    อายุ
Nationality    =    สัญชาติ
Race    =    เชื้อชาติ
Religion    =    ศาสนา (Buddhism = พุทธ Christian = คริสต์ Islam = อิสลาม)
Height    =    ความสูง
Weight    =    น้ำหนัก
Identification Card (ID Card)    =    บัตรประจำตัวประชาชน
Issued by    =    ออกให้โดย
Marital status    =    สถานภาพการสมรส (Single = โสด Married = แต่งงานแล้ว Widowed = เป็นหม้าย Divorce = หย่าร้าง)
Person of notify in case of emergency    =    ผู้ที่จะติดต่อในกรณีเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน
Certificate degree obtained    =    ประกาศนียบัตรหรือปริญญาที่ได้รับ
Military status    =    สถานภาพทางทหาร
Experience / Previous employment    =    ประวัติการทำงาน
Reasons for leaving    =    เหตุผลที่ออกจากงาน
References    =    บุคคลอ้างอิง บางแห่งใช้ Referees
Applicant signature    =    ลายเซ็นผู้สมัคร
Reserved Officers’ Training Corps Course (ROTC)    =    หลักสูตร ร.ด.
No Military Service Obligation    =    ไม่มีพันธะทางทหาร
Self-employed    =    ทำงานส่วนตัว
Equivalent qualification    =    คุณวุฒิเทียบเท่า
Income    =    รายได้
Letter of Recommendation    =  จดหมายรับรองการทำงาน บางครั้งใช้ Employment Certificate ใบรับรองการผ่านงาน หรือ Testimonial
Marriage Certificate    =    ทะเบียนสมรส
Birth Certificate    =    สูติบัตร
Occupation / Profession    =    อาชีพ
Related Field    =    สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
Rèsumè    =    ประวัติย่อ
Vocational Certificate    =    ปวช.
Higher Vocational Certificate    =    ปวส.
Home Registration Certificate    =    ทะเบียนบ้าน
Dependent    =    ผู้อยู่ในอุปการะ
Extra-curricular Activities    =    กิจกรรมนอกหลักสูตร
Special skills    =    ความชำนาญพิเศษ
Expert in    =    เชี่ยวชาญ
Employment record    =    ประวัติการทำงาน
Negotiable    =    ต่อรองได้
Guarantor    =    ผู้ค้ำประกัน
Fringe benefits    =    ผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับนอกจากค่าจ้างประจำ
Seminars and special training courses    =    การสัมมนาและการฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ
Spouse    =    คู่สมรส (สามีหรือภรรยาก็เรียกได้)
Domicile    =    ภูมิลำเนา
Transcript    =    ใบแสดงผลการเรียน บางครั้งใช้ Statement of Marks หรือ Mark Sheet ก็มีเรียก
Degree Certificate    =    ใบปริญญาบัตร
Full-time job    =    งานทำเต็มเวลา (งานทำไม่เต็มเวลาใช้ Part-time job)
Date of attended    =    วันที่เข้าเรียน
Military Discharge Letter    =    ใบปลดทหารประจำการ หรืออาจเรียกว่า Certificate of exemption from military service















By





Miss  Sirirat Paesuwan M.3/1

No comments:

Post a Comment